veneer-day

บริการครอบฟัน

ครอบฟัน คืออะไร

การครอบฟัน คือ การครอบ หรือคลุมฟันที่เสียหาย ถือเป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหัก ฟันที่ได้ผ่านการรักษารากฟันสามารถทนแทนฟันจริง หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน โดยทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้นๆด้วยวัสดุประเภทต่างๆ อาจทำจากโลหะล้วน ทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน (all ceramic) หรือทั้งโลหะและเซรามิค (PFM) เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานดีดังเดิม มีความติดแน่น โดยสามารถปรับสี ให้เข้ากับ สีฟันตามธรรมชาติได้

ครอบฟัน เหมาะกับใคร

ส่วนมากจะทำการ “ครอบฟันหน้า” เพื่อความสวยงามส่วนฟันหลังหรือ “ครอบฟันกราม” จะทำเพื่อการใช้งานบดเคี้ยวอาหาร เช่น มีฟันผุเป็นจำนวนมากและลักษณะของฟันที่ผุมีขนาดกว้าง เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถรักษาได้โดยการอุดฟันได้ หรือผู้ที่มีฟันแตก ฟันร้าวควรต้องรักษาด้วย ครอบฟัน เพื่อเก็บรักษาฟันให้ใช้งานได้ยาวนานหรือผู้ที่เคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน เนื่องจากเนื้อฟันจะเปราะบางมากกว่าเหมือนกับฟันปกติ และการครอบฟัน ยังช่วยในการปรับการเรียงตัวของฟันได้ ในกรณีที่ฟันมีความผิดปกติ เนื่องจากฟันเกิดอุบัติเหตุ แตก หัก หรือบิ่น สีฟันและรู ปร่างฟันไม่สวยงาม เหมือนฟันซี่ข้างเคียง

ครอบฟัน กับ วีเนียร์ แตกต่างกันอย่างไร?

ทั้ง 2 วิธีการมีความคล้ายคลึงกัน คือ เป็นการทำทันตกรรมเพื่อความงาม แต่จะมีความแตกต่างกันในบางจุด โดยการทำวีเนียร์เหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของฟันเพียงเล็กน้อย เช่น สีฟันไม่สวย ฟันไม่สบกัน ฟันไม่เท่ากัน ปัญหาฟันเล็ก การเลือกทำวีเนียร์นั้นจะเสียเนื้อฟันน้อยกว่า เพราะเป็นการแปะแค่ผิวหน้าฟันบางส่วนเป็นการเคลือบแค่ผิวหน้าของฟันเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นการครอบฟันจะครอบคลุมพื้นผิวด้านนอกทั้งหมดของฟันซี่นั้น โดยการครอบฟันจะสวมไปลงฟันทั้งซี่

การครอบฟัน จำเป็นอย่างไร?

การทำครอบฟัน จะช่วยให้ฟันกลับมาแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยว สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น ในกรณีที่มีปัญหาฟันสึก การครอบฟันจะช่วยให้ไม่ให้มีการสึกเพิ่มมากขึ้น ใช้งานสะดวกติดแน่น ยึดติดกับฟันอย่างดี จึงไม่ต้องกังวลว่าครอบฟันจะหลุดเวลารับประทานอาหารหรือพูดคุยได้

การครอบฟัน มีกี่ประเภท

ประเภทของครอบฟัน จะแบ่งตามวัสดุครอบฟันแต่หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่เป็นนิยม คือ

  1. ครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะ (PFM)
  2. ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน (all ceramic)
  3. ครอบฟันแบบโลหะล้วน (full metal)

ซึ่งการครอบฟันทั้งประเภทเซรามิกผสมโลหะและแบบเซรามิกล้วน นั้นมีข้อดีคือ สี สันของตัวฟันทดแทนนั้น มีสีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการ เลือกใช้ครอบฟันตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหาเช่น

  • ครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะสำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้การบดเคี้ยวซึ่ง เหมาะสำหรับนำมาใช้ ครอบฟันกรามหลัง
  • ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน ในการทดแทนฟันหน้า เหมาะสำหรับ ครอบฟันหน้า เพราะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ รวมถึงในปัจจุบัน เซรามิก มีความแข็งแรงค่อนข้างสูง สามารถใช้ครอบฟันกรามหลังได้
  • ครอบฟันแบบโลหะล้วน เหมาะกับฟันกราม เพราะที่มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุดเนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือแตกเหมือนวัสดุเซรามิกแต่มีลักษณะสีโลหะ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการความสวยงามแบบธรรมชาติ

นอกจากนี้ยังมีการครอบฟันที่สร้างมาจากวัสดุอื่นๆที่เหมาะสมกับการครอบฟันในแบบจำเพราะเจาะจง เป็นอีกทางเลือก ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

  • ครอบฟันเหล็กกล้าไร้สนิท (Stainless Steel Crown: SSC) คือการครอบฟัน สำเร็จรูปทำจากสแตนเลส นิยมใช้กับฟันน้ำนมในเด็กสามารถหลุดไปภายหลัง
  • ครอบฟันเรซิน (All-resin crown) ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายพลาสติก มีความแข็งแรงพอประมาณ มักใช้เป็นครอบฟันชั่วคราวระหว่างการรักษา
  • ครอบฟันเซอร์โคเนีย (Zirconia crown) เป็นครอบฟันเซรามิคล้วนชนิด หนึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและขึ้นรูปมีความแข็งแรงมาก และมีความสวย งามสูง

ขั้นตอนการครอบฟัน

การทำครอบฟัน จะทำการรักษาโดยทันตแพทย์ทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ โดยวิธีการครอบฟันไม่ได้ปิดจบลงในวันเดียวจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็น ลำดับขั้นตอน โดยมีวิธีการครอบฟันดังนี้

  • ครอบฟันวันแรก ทันตแพทย์จะซักประวัติสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งตรวจการสบฟัน เช็คสุขภาพเหงือก เอกซ์เรย์ พร้อมวางแผนการรักษา ก่อนที่จะทำการกรอแต่งฟัน (ในขั้นตอนนี่จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่) พิมพ์ปาก และให้คนไข้เลือกสีฟันตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้
  • ครอบฟันครั้งที่สอง หลังจากที่พบแพทย์ ภายหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายมาทำการลองครอบฟัน หากไม่พอดีอาจมีการกรอแต่งเล็กน้อย และเพื่อให้ครอบฟันลงพอดีและทำการตรวจเช็คการสบฟัน รอยต่อระหว่างขอบของครอบฟัน และผิวเคลือบฟัน หากเหมาะสมดีแล้วถึงจะทำการยึด ครอบฟันโดยใช้กาวยึดทางทันตกรรม (Dental adhesive) ถือเป็นอันสำเร็จเรียบร้อย

การดูแลหลังครอบฟัน

เมื่อทำการครอบฟันแล้ว ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายคนไข้ มาตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันว่ามีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่เช่นในรายที่มีฟันผุและไม่ได้รื้อออกทั้งหมด อาจจะเกิดการอักเสบขึ้นที่โพรงประสาทฟันได้ หากพบความผิดปกติควรกลับไปพบทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยเร็ว หากปกติเรียบร้อยดี ก็จะมีการทำการนัดหมายเพื่อให้กลับมาตรวจเช็คทุก ๆ 6 เดือน