รีเทนเนอร์คืออะไร?
อุปกรณ์ทันตกรรมที่ใช้หลังจากการจัดฟันเสร็จสิ้น เพื่อช่วยคงสภาพฟันในตำแหน่งใหม่และป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนกลับไปยังตำแหน่งเดิม รีเทนเนอร์มีความสำคัญในการรักษาผลลัพธ์ของการจัดฟันให้อยู่ในสภาพที่สวยงามและมั่นคง
ข้อควรรู้ : ฟันของเรามีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 1-2ปีแรก หลังจากจัดฟันเสร็จเพราะเป็นระยะที่เซลล์กระดูกและรอบๆบริเวณราก ฟันต้องจดจำตำแหน่งใหม่การใส่รีเทนเนอร์จึงจำเป็นมากในการคงสภาพฟัน โดยเฉพาะในช่วงแรก
รีเทนเนอร์มีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี
1. รีเทนเนอร์แบบลวด (โลหะ)
เป็นรีเทนเนอร์ที่มีโครงสร้างลวดโลหะที่ติดกับฟันหน้า และฐานอะคริลิกที่ติดกับเพดานปากหรือใต้ลิ้น มีความทนทานสูง แต่เห็นได้ชัดเจนเมื่อสวมใส่ ราคาไม่แพง ปรับแต่งเพิ่มเติมได้ มีสีสันและลวดลายให้เลือกที่หลากหลาย
ข้อดีของรีเทนเนอร์แบบลวด
- มีอายุการใช้งานยาวนาน หากดูแลรักษาดีสามารถใช้ไปได้เป็นปีๆ
- สามารถออกแบบตัวอะคริลิกได้เอง สามารถเลือกผสมสี และใส่สติกเกอร์ หรือใส่ Glitter ในรีเทนเนอร์แบบลวดของคุณเอง
- ถอดทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบใส
- สามารถปรับแต่ง หรือซ่อมแซมได้หากต้องการ ไม่ต้องทำใหม่ทั้งชิ้น
- มักมีราคาที่ถูกกว่าแบบใส
ข้อเสียของรีเทนเนอร์แบบลวด
- เห็นลวดเวลายิ้ม ทำให้ไม่เหมาะหากคุณกังวลเรื่องบุคลิกภาพและความสวยงาม
- อาจรบกวนการพูดและการออกเสียงใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าในการทำให้ร่างกายคุ้นชิน
- รีเทนเนอร์แบบลวดพบการทำรีเทนเนอร์เถื่อนรีเทนเนอร์ที่ไม่ได้ทำโดยทันตแพทย์ บ่อยกว่าแบบใส คุณควรเช็คข้อมูลให้ดีว่าคุณจะได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตัวจริง
2. รีเทนเนอร์แบบใส
รีเทนเนอร์แบบใส (Clear Retainer) มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกใส ครอบเฉพาะตัวพัน ไม่มีส่วนของเพดานปาก ทำให้ไม่รบกวนการพูดเหมือนแบบลวด นอกจากนี้ยังยิ้มแล้วไม่เห็นเหล็ก จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการบุคลิกภาพเป็นทาง การในการทำงาน
ข้อดีของรีเทนเนอร์แบบใส
- ไม่เห็นลวดเวลายิ้ม ทำให้ไม่รบกวนบุคลิกภาพของคุณ สวยงาม ดูเรียบร้อย เป็นมืออาชีพ
- รบกวนการพูด และออกเสียงน้อย
ข้อเสียของรีเทนเนอร์แบบใส
- อายุการใช้งานน้อยกว่า ชำรุดเสียหายได้ง่ายกว่า
- ทำความสะอาดยากกว่า เนื่องจากลักษณะเป็นหลุม
- น้ำลายสามารถขังอยู่ในรีเทนเนอร์ ทำให้เห็นเป็นฟองอากาศได้ในคนไข้บางคน
- ไม่สามารถปรับแต่งได้ ต้องทำใหม่เท่านั้น
- ไม่เหมาะในการใช้สำหรับคนไข้จัดฟันบางประเภท เช่น ผู้ที่มีภาวะนอนกัดฟัน หรือลักษณะฟันสบลึก ฯลฯ