แบ่งๆออกเป็น 3 ช่วงวัยตามพัฒนาการของฟัน ดังนี้
เด็กเล็ก หมายถึง เด็กในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน – 2 ปี เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นและขึ้นจนครอบ เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนัก ทันตกรรมในช่วงนี้จึงจะเน้นเรื่องการแนะนำในการดูแลฟันน้ำนมให้กับคุณพ่อคุณแม่
ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำในเรื่องการทำความสะอาดฟันน้ำนมอย่างถูกวิธี พฤติกรรมการกินนมหรือใช้ขวดนมที่ดีต่อฟันน้ำนม การเลิกนมมือดึก การเลิกขวดนม การเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมกับฟันของเด็ก
เด็กวัยอนุบาล เป็นเด็กในช่วงอายุประมาณ 3 – 6 ปี เป็นช่วงของการดูแลฟันน้ำนมเมื่อขึ้นครบแล้ว เด็กในวัยนี้เริ่มดูแลรักษาฟันด้วยตัวเองได้แล้ว และเป็นวัยที่เริ่มพบฟันผุจนมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน
การทำฟันเด็กในวัยนี้จะเน้นที่การแนะนำให้เด็กรู้จักกับเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการดูแลรักษาฟันและวิธีการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการทำทันตกรรมให้เด็ก
โดยสิ่งที่แนะนำจะมีตั้งแต่การแปรงฟัน ขัดฟัน ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ไปจนถึงทันตกรรมเด็กอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเด็กๆ เริ่มคุ้นเคย และในการทำฟันแต่ละครั้ง ทันตแพทย์จะไม่ทำฟันนาน แต่จะนัดพบหลายครั้งแทน เพื่อไม่ให้เด็กวัยนี้เครียดจนเกินไป เมื่อเด็กคุ้นเคยมากขึ้นจึงจะเริ่มเพิ่มเวลา
เด็กโต คือเด็กในช่วงอายุประมาณ 7 – 12 ปี เป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม และเป็นช่วงที่เด็กโตพอที่จะดูแลตัวเองได้อย่างดี และสามารถควบคุมตนเองได้ระหว่างการทำฟัน
ทันตกรรมเด็กที่จะทำในเด็กโต จะเน้นไปที่การแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟันแท้ อย่างข้อควรระวังเกี่ยวกับการดูแลฟันหน้า การป้องกันฟันแท้ผุโดยเฉพาะที่ฟันกรามแท้ เป็นต้น
ทันตกรรมเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากฟันน้ำนมในเด็กกับฟันแท้ในผู้ใหญ่นั้นจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน การทำฟันเด็กจะเน้นดูแลและป้องกันฟันผุเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะของฟันน้ำนมนั้น ผุได้ง่ายกว่าฟันแท้ อีกทั้งตัวฟันก็ซี่เล็กกว่าฟันแท้ด้วยและเด็กยังเป็นวัยที่ยังไม่สามารถแยกความเจ็บปวดออกจากความกลัวหรือความเครียดได้ เมื่อมีอาการปวดฟันหรือรู้สึกกดดันเมื่อทำฟันก็จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้
ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟันเด็ก จึงจะต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตวิทยาการสื่อสารกับเด็กๆ ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างกับทันตกรรมในผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก
เป็นการตรวจเนื้อเยื่อทุกอย่างในช่องปากเหมือนกับผู้ใหญ่ ตรวจตั้งแต่ฟัน เหงือก ไป จนถึงลิ้นและเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่มีผลกับสุขภาพช่องปากในเบื้องต้น
เริ่มตรวจได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นเลย ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นช่วงที่เด็กอายุประมาณ 6 เดือน แพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปาก รวมทั้งให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ว่าควรดูแลฟันน้ำนมของเด็กๆตั้งแต่เริ่มต้นอย่างไรได้บ้าง
การตรวจฟันเด็กควรทำทุกๆ 6 เดือน โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้นัดเวลา แต่ถ้าหากเด็กมีความเสี่ยงที่จะฟันผุหรือเป็นโรคเหงือกได้มาก อาจจะนัดให้มาพบทุกๆ 3 เดือน เพื่อติด ตามดูอาการต่อไป
การเคลือบฟลูออไรด์ เป็นทันตกรรมเพื่อป้องกันฟันผุ โดยจะนิยมทำกันในการทำฟันเด็ก เนื่องจากฟันน้ำนมสามารถผุได้ง่ายกว่าฟันแท้
เคลือบฟลูออไรด์เริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเมื่อมีฟันซี่แรกงอกขึ้นมา แต่ในช่วงวัยนี้เด็กมีโอกาสที่จะลืนฟลูออไรด์ได้ ดังนั้นอายุที่ทันตแพทย์แนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์คืออายุ 3 ปีขึ้นไป แม้จะเลยวัยเด็กไปแล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน ถ้ามีความเสี่ยงที่ฟันจะผุมาก หรือทันตแพทย์แนะนำให้ทำ
การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก โดยทันตแพทย์มี 2 ประเภท
ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นแร่ธาตุหนึ่งที่มีการศึกษามาอย่างยาวนาน และมีงานวิจัยรับรองทางการแพทย์ว่า สามารถป้องกันฟันผุได้ ดังนั้นทันตแพทย์จึงนำฟลูออไรด์มาใช้เคลือบผิวฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ลดอาการเสียวฟัน และสามารถซ่อมแซมฟันผุในระยะแรกได้ด้วย
ในทันตกรรมเด็กที่ต้องดูแลฟันน้ำนมที่มีความเสี่ยงฟันผุได้มาก จึงนิยมการเคลือบฟลูออไรด์กันมากเพื่อลดความเสี่ยงฟันผุลง เพราะหากฟันผุในเด็กเล็กจนมีอาการปวด จะทำให้เด็กมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการหาหมอฟัน และเมื่อเด็กๆขัดขืนก็จะรักษาได้ยากขึ้นด้วย
การเคลือบฟลูออไรด์จะเริ่มจากการขัดฟันนำเศษอาหารและคราบที่ฟันออกให้หมดแล้วจึงเคลือบฟลูออไรด์
หลังจากเคลือบฟลูออไรด์แล้ว แพทย์จะให้งดบ้วนปาก ดื่มน้ำ หรือทานอาหารเป็นเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อทิ้งให้ฟลูออไรด์ได้ทำงานก่อนที่จะโดนล้างออกไป หากเคลือบฟลูออไรด์แวนิช แพทย์จะให้งดของแข็ง 1-2 ชั่วโมงหลังทำ และงดแปรงฟันในวันที่เคลือบฟลูออไรด์ด้วย
แม้ฟันน้ำนมจะเป็นชุดฟันชั่วคราวที่จะหลุดออกไปเมื่อโตขึ้นแต่การผุในฟันน้ำนมก็สร้างความเจ็บปวดให้กับเด็กๆได้ จึงต้องมีทันตกรรมรักษาฟันผุอย่างการอุดฟันในเด็กด้วย
การอุดฟันของทันตกรรมเด็กจะแตกต่างกับทันตกรรมของผู้ใหญ่ที่การสื่อสารกับเด็ก เนื่องจากระหว่างการอุดฟัน ในขั้นตอนการกรอฟันผุออก อาจจะทำให้เสียวฟันได้ เด็กที่ไม่เคยรู้จักอาการเสียวฟันอาจจะรู้สึกกลัวจนไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา
ในขั้นตอนการอุดฟันทันตแพทย์เด็กจึงต้องใช้จิตวิทยาในการสื่อสารกับเด็กๆค่อนข้างมาก และต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ช่วย เพื่อให้เด็กไม่เจ็บและเสียวฟันน้อยลง
การอุดฟันน้ำนมมี 3 ประเภท แบ่งออกตามวัสดุอุดที่ใช้อุดฟัน ได้แก่
ข้อควรระวัง คือระวังไม่ให้เด็กเคี้ยวของแข็งหลังจากนั้น เพราะวัสดุอุดสามารถแตกหักได้ โดยเฉพาะวัสดุสีเหมือนฟันอย่างเรซินคอมโพสิต หรือกลาสไอโอโนเมอร์ ส่วนวัสดุอมัลกัม หลังอุดฟันแล้วห้ามใช้ซี่ที่อุดเคี้ยวอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงสามารถใช้งานได้ตามปกติ
โดยปกติแล้วฟันน้ำนมจะเริ่มคลอนและหลุดออกเมื่อฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ แต่ก็มีสาเหตุที่ต้องถอนออกก่อนที่ฟันจะคลอนเช่นกัน
หลังทำการถอนฟันน้ำนมแล้วทันตแพทย์จะให้กัดผ้าก๊อชห้ามเลือดไว้ประมาณ 30 นาที คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูลูกว่าลูกยังกัดผ้าก๊อชอยู่หรือไม่ และต้องกระตุ้นให้กลืนน้ำลายบ่อยๆ เนื่องจากหากผ้าก๊อชไม่อยู่กับที่หรือชุ่มน้ำลายเกินไป จะทำให้เลือดหยุดไหลช้า หลังจาก 30 นาทีหากเลือดไม่หยุดไหล ให้เปลี่ยนผ้าก๊อชอันไหม่ และกัดไปอีกเรื่อยๆจนกว่าจะหยุดไหล หลังจากเลือดหยุดแล้วผู้ปกครองต้องคอยดู และเตือนไม่ให้เด็กดูดแผลเล่น เพราะจะทำให้เลือดไหลได้อีก
ถ้าทันตแพทย์จ่ายยามา ก็ให้ผู้ปกครองให้ยากับเด็กตามที่ทันตแพทย์บอก หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง อาหารรสจัดในวันแรก และหลีกเลี่ยงการแปรงฟันในบริเวณที่ถอนฟัน ในช่วง 1–2 วันแรก ป้วนปากบ่อยๆไม่ให้เศษอาหารลงไปในแผลหลังจากนั้นเด็กๆสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ทันตกรรมเด็ก จำเป็นต้องมีการขูดหินปูนเหมือนกับผู้ใหญ่ เพราะหินปูนเป็นต้นเหตุให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้
การขูดหินปูนไม่ได้มีกำหนดว่าควรเริ่มขูดเมื่อไหร่ หากพาเด็กๆ มาพบหมอฟันเด็กเป็นประจำทุก 6 เดือนอยู่แล้ว หมอจะบอกให้ทำถ้าเริ่มมีหินปูนและมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือก
ขั้นตอนการขูดหินปูนสำหรับเด็ก ไม่ได้ต่างกับการขูดหินปูนในผู้ใหญ่ โดยขั้นตอนการขูดหินปูนมี ดังนี้
การดูแลฟันหลังขูดหินปูนไม่ได้มีข้อควรระวังเป็นพิเศษหมอจะแนะนำให้เด็กๆ ใช้ไหมขัดฟัน แปรงฟันอย่างถูกวิธี เพื่อให้หินปูนก่อตัวได้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้