veneer-day

บริการตัดแต่งเหงือก

ตัดเหงือก คืออะไร

การตัดเหงือก (Gum Contouring Surgery) หรือการศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เป็นการผ่าตัดยกระดับเหงือกที่มีลักษณะที่โตมากกว่าปกติ หรือเหงือกที่เป็นส่วนเกินออกด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมเพื่อปรับแนวเหงือกให้เสมอกันหรือเพื่อเพิ่ม ความยาวของฟันให้ดูยาวขึ้น

ส่วนใหญ่แล้วการตัดเหงือกนั้นมักจะทำร่วมกับการครอบฟันหรือวีเนียร์ การรักษารากฟัน การผ่า หรือ ถอนฟันคุด เพื่อปรับรูปร่างของเหงือกให้ออกมาดูสวยงาม เรียบเนียน

สาเหตุที่ต้องตัดแต่งเหงือก

การขึ้นของฟันไม่สมบูรณ์ (delayed passive eruption) ทำให้ฟันดูเตี้ย เวลายิ้มจะทำให้เห็นเหงือกมากเกินไป(เหงือกเยอะ) เพื่อช่วยการบูรณะ ครอบฟัน, วีเนียร์, ให้ฟันดูมีมิติ และสวยงามมากยิ่งขึ้น เวลายิ้มแล้วเห็นขอบระดับเหงือกเห็นไม่เท่ากัน (เหงือกยื่น) มีรอยผุอยู่ใต้ขอบเหงือก มีรอยฟันแตกอยู่ใต้ขอบเหงือกที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปริทันต์ได้ มีปัญหาเหงือกร่น,หรือฟันห่าง ฟันกรามผุจนทำให้เศษอาหารเข้าไปติดในช่องฟันและกลายเป็นที่สะสมของเชื้อแบคทีเรีย

การตัดเหงือกมีกี่วิธี

การตัดแต่งเหงือกสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การตัดขอบเหงือกด้วยมีดและการตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ หรือเครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีกระบวนการทำที่แตกต่างกันดังนี้

1. การตัดขอบเหงือกด้วยมีด

การตัดขอบเหงือกด้วยมีดเป็นวิธีศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกที่แต่เดิมเคยใช้มานาน โดยใช้มีด (blade) เป็นตัวตัดเหงือกโดยแพทย์จะใช้มีดตัดแต่งเหงือกที่มีส่วนเกินออกตามแนวร่องฟันที่ได้ทำการออกแบบไว้ เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วจะต้องเย็บและปิดแผลไว้ แล้วจะทำการนัดอีกครั้งเพื่อมาตัดไหมออก

คนไข้จะต้องดูแลเรื่องความสะอาดให้ดี เพราะแผลอาจเกิดการติดเชื้อได้ และต้องมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้การตัดขอบเหงือกด้วยมีดนั้นมีข้อจำกัดในเรื่อง ของ เลือดที่ออกค่อนข้างมากกว่า, ใช้เวลาในการพักฟื้น,มีรอยแผลที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและที่สำคัญคือแพทย์ต้องมีความชำนาญเลยทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยมน้อยลง

2. การตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ และ เครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า

การตัดเหงือกเลเซอร์ หรือการตัดเหงือกด้วยเครื่องตัดหงือกไฟฟ้าจะได้รับความนิยมมากกว่า ข้อดีคือ เจ็บน้อยกว่า, ไม่ต้องเย็บแผล,แผลมีขนาดเล็ก,เลือดออกน้อยกว่า และมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่า รวมถึง ประสิทธิภาพที่ดีกว่า (minimal invasive)

ตัดเหงือก ศัลยกรรมเหงือก มีกี่ประเภท

การศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท ทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ และตามความประเมินขจองแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แบบตัดเหงือกอย่างเดียว

การตัดเหงือกเพียงอย่างเดียว (Gingivectomy) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาไม่มาก คือฟันมีขนาดปกติ แต่มีเหงือกเยอะหรือเหงือกหนาจนคลุมเนื้อฟัน เวลายิ้มแล้วฟันดูเตี้ย ดูไม่สวยงาม

การตัดเหงือกเพียงอย่างเดียว แพทย์จะใช้เครื่องตัดเหงือกเลเซอร์มาตัดเหงือกที่เป็นส่วนเกินออก เพื่อปรับแนวเหงือกให้เรียบ มีความสม่ำเสมอ หลังทำสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องพักฟื้น มีอาการบวมหรือเลือดซึมเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลยแบบตัด

เหงือกกรอกระดูก

การตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูกฟัน (Aesthetic Crown Lengthening) เหมาะสำหรับคนที่มีเหงือกคลุมฟันมาก และมีกระดูกฟันนูนร่วมด้วย ทั้งขอบเหงือกและกระดูกอยู่ในตำแหน่งที่สูงเกินไปเป็นการผ่าตัดเล็ก แพทย์จะผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อกรอกระดูกออกและตกแต่งให้สวยงาม โดยแต่ละซี่จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณกระดูกฟัน จากนั้นแพทย์จะเย็บแผลและปิดแผลไว้ วิธีนี้จะใช้เวลาพักฟื้นเพียงเล็กน้อยและต้องดูแลความสะอาดของแผลเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้แผลอักเสบหรือติดเชื้อ

ตัดเหงือกกรอกระดูกฟันคืออะไร

การตัดเหงือกอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับการทำให้ฟันดูยาวขึ้น หรือเปลี่ยนขอบระดับเหงือกให้ดูต่ำลง เพราะในบางรายอาจมีความผิดปกติที่ขอบระดับกระดูกยังอยู่สูงร่วมด้วย ดังนั้นการตัดเหงือกอย่างเดียวโดยไม่กรอกระดูกฟัน อาจทำให้เหงือกที่ตัดกลับมาสู่ระดับขอบเหงือกเดิมก่อนที่ตัดได้ (relapse) แพทย์จึงต้องกรอกระดูกฟันออก เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาและผลลัพธ์ออกมาสวยงาม และการตัดเหงือกกรอกระดูกฟันสามารถแก้ปัญหาเหงือกเยอะได้ถาวร เหงือกจะไม่งอกกลับมาอีก

การเตรียมตัวก่อนตัดเหงือก

  • ควรตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียด และหากมีหินปูน ควรขูดหินปูนก่อนทำการรักษา 2 สัปดาห์และมีสภาพเหงือกอักเสบให้น้อยที่สุด
  • ทำการเอกซเรย์เพื่อประเมินระดับกระดูก
  • หากมีโรคประจำตัว หรือมียาที่ทานประจำรวมถึงการสูบบุหรี่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทำการรักษา
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องแผนการรักษาที่เหมาะสม เช่น ต้องตัดเหงือกกี่ซี่ หรือต้องตัดเหงือกกรอกระดูกฟันหรือไม่

ขั้นตอนการตัดเหงือก

  1. ขั้นแรกแพทย์จะทำการฉีดยาชา รอยาชาออกฤทธิ์ 20-40 นาที และกำหนดจุดที่เหงือกก่อนการผ่าตัด
  2. เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะทำการตัดเหงือกด้วยเครื่อง elactrocautery ที่เป็นเครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า เพื่อตัดเหงือกที่เป็นส่วนเกินออก
  3. ในกรณีที่คนไข้มีปัญหากระดูกฟันนูนร่วมด้วยแพทย์จะกรอและตกแต่งกระดูกฟันให้เกิดความสมดุล
  4. หลังจากทำการรักษาเสร็จแล้ว แพทย์จะแนะนำการดูแลความสะอาด ในเบื้อง ต้น และนัดติดตามผลหลังทำ

วิธีดูแลหลังตัดเหงือก

  • ในการดูแลแผล ควรใช้ cutton bud ชุบน้ำ เช็ดทำความสะอาดบริเวณแผลอย่างเบามือ
  • หากมีอาการปวด สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  • งดทำกิจกรรมที่อาจส่งผลข้างเคียงต่อฟัน เช่น การกัดฟัน ต่อยมวย เคี้ยวอาหารแข็ง
  • ในระยะแรกอาจไม่สามารถแปรงฟันในบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดได้ แต่สามารถใช้ไหมขัดฟันในบริเวณอื่นได้ตามปกติ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อบ้วนทำความสะอาดได้
  • ทานยาฆ่าเชื้อที่แพทย์ให้ติดต่อกันจนหมด

ข้อดี-ข้อเสีย การตัดแต่งเหงือก

ข้อดีการตัดเหงือก

  • ช่วยเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม และเสริมบุคคลิกภาพให้ดีขึ้น
  • เพื่อการรักษาที่เป็นประโยชน์ในขั้นตอนต่อไป เช่น การทำวีเนียร์ให้ดูมีมิติและสวยงามมากที่สุด การบูรณะ เช่น การครอบฟันหรือการอุดฟันเพื่อครอบคลุม ทั้งรอยที่ผุ รอยที่ฟันแตก ที่อยู่ใต้ขอบเหงือก เพื่อประสิทธิภาพของครอบฟัน และฟันที่อุดซี่นั้นให้ใช้ได้นานมากยิ่งขึ้น และให้ผลลัพธ์ถาวรเหงือกจะไม่กลับมางอกซ้ำอีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพฟันและเหงือกของคนไข้ร่วมด้วยใช้เวลาในการรักษาไม่นาน เฉลี่ยประมาณ 1-2 นาที/ซี่ หากรักษาด้วยเครื่องตัดเหงือกเลเซอร์นั้น จะไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้นและมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่าในกรณีที่ยิ้มแล้วเห็นกระดูกนูนเยอะเหนือริมฝีปากบน หลังทำตัดแต่งเหงือก ริมฝีปากจะดูอูมน้อยลง

ข้อเสียการตัดเหงือก

  • ต้องมีการผ่าตัดโดยการใส่ยาชาร่วมด้วย ในกรณีที่แพ้ยาชาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • หลังตัดเหงือก หากคนไข้ไม่ดูแลสุขภาพช่องปาก อาจนำไปสู่โรคปริทันต์ได้ เช่น เหงือกอักเสบ เหงือกร่น ฟันผุ คอฟันสึก
  • มีราคาที่ค่อนข้างสูง